top of page

6.มัลติมิเตอร์ชนิดดิจิตอล

วัตถุประสงค์

1. บอกคุณลักษณะและการใช้งาน มัลติมิเตอร์ดิจิตอลได้

2. ใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลวัดค่าต่างๆได้อย่างถูกต้อง

1.1 บทนำ มัลติมิเตอร์ดิจิตอล(Digital Multimeters) คือ เครื่องวัดไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณ ไฟฟ้าได้หลาย ๆ อย่าง หรือเป็นเครื่องวัดอเนกประสงค์ เช่น สามารถวัดกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความต้านทาน แบตเตอรี่ ไดโอด อุณหภูมิ(วัดด้วยหัววัดอุณหภูมิ)และวัด ความต่อเนื่อง ได้จากเครื่องมือวัดเพียงเครื่องเดียว และแสดงค่าที่วัดได้ด้วยระบบดิจิตอล เครื่องมือวัดลักษณะนี้จึง เรียกว่า มัลติมิเตอร์ดิจิตอล

1.2 มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล จะเป็นมัลติมิเตอร์ที่ ตั้งค่าที่จะวัดได้หลายค่า โดยสวิตช์เลือก พิสัยการวัด มีทั้งแบบกดปุ่มเลือก และแบบหมุนบิดเลือกค่า ค่าที่วัดได้จะอ่านค่าได้ง่าย กว่า แบบเข็มชี้(แอนะล็อก) เพราะมีตัวเลขแบบดิจิตอลขนาดใหญ่ที่แสดงผล บนจอแสดงผลที่ ชัดเจน สายวัดของมิเตอร์ จะมีสองสาย คือสายสีแดง และสายสีด า เหมือนกับ มัลติมิเตอร์ แอนะล็อก

1.3 การเลือกพิสัยการวัด พิสัยการวัด หรือ ย่านวัด สามารถเลือกได้จาก สวิตช์หมุน ที่อยู่ด้านหน้า ของ มัลติมิเตอร์ ดิจิตอล โดยปกติเมื่อไม่ใช้งาน มัลติมิเตอร์ดิจิตอล จะต้องเลือกสวิตช์ ไปที่ต าแหน่งปิดเครื่อง (OFF) เสมอ เพื่อประหยัดแบตเตอรี่ภายในมิเตอร์ดังรูปที่ 3-3 (ก) ถ้าต้องการวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสตรง (DCV) จะต้องเลือกสวิตช์ ไปที่ต าแหน่ง V— ที่ย่านสูงก่อน เช่น ที่ย่านวัด 200 VDC ดังรูปที่ 3-3 (ข) หรือ ถ้าต้องการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (ACV) จะต้องเลือก สวิตช์ ไปที่ต าแหน่ง V ที่ย่านสูงก่อน เช่น ที่ย่านวัด 600 VAC

1.4 การใช้งานมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

1.4.1 การวัดค่าความต้านทาน มัลติมิเตอร์ รุ่น นี้ จะมีย่านการวัดทั้งหมด 5 ย่าน คือ 200, 2K, x20K, 200K และ 2M อ่าน ค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ 200Ω ถึง 2 MΩ

ลำดับขั้นตอนการใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล วัดค่าความต้านทาน

1. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ที่ย่านΩ

2. ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) และสายวัดสีด าเสียบเข้าที่ขั้วต่อ ขั้วลบ(-) หรือ(COM)

3. ปรับสวิตช์เลือกพิสัยการวัดให้ถูกต้อง เช่น 20KΩ ที่หน้าจอจะแสดงค่า OL หมายถึง Over Range หรือ ค่าที่วัดเกินย่านวัดที่ตั้งค่าไว้ เพราะ ปลายของสายวัดไม่ต่อกัน ดังรูป 3.4(ก) 4. น าไปวัดตัวต้านทาน ดังรูปที่3.4(ข) ค่าที่วัดได้คือ 10.2 KΩ 5. การวัดค่าความต้านทานในวงจรไฟฟ้าต้องแน่ใจว่าปิด (OFF) สวิตช์ไฟฟ้า ทุกครั้ง

1.4.2 การวัดฟิวส์ ตั้งมัลติมิเตอร์ดิจิตอล เพื่อวัดค่าความต้านทาน ที่ย่านวัด ค.ต.ท. ต่ าๆเช่น 200Ω เพื่อ วัดฟิวส์ดังรูปที่ 3.5(ก) และน าฟิวส์ที่ต้องการวัดมาต่อวัด

ลำดับขั้นตอนการใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล วัดฟิวส์

1. ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ที่ย่านΩ

2. ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) และสายวัดสีด าเสียบเข้าที่ขั้วต่อ ขั้วลบ(-) หรือ(COM)

3.ปรับสวิตช์เลือกพิสัยการวัดให้ถูกต้อง เช่น 200Ω ที่หน้าจอจะแสดงค่า OL หมายถึง Over Range หรือ ค่าที่วัดเกินย่านวัดที่ตั้งค่าไว้ เพราะปลายสายวัดไม่ต่อกัน ดังรูป 3.5(ก) 4.น าไปวัดฟิวส์

4.1วัดแล้ว ได้ค่า OL หรือ หมายความว่า วงจรเปิดนั่นเองแสดงว่า ฟิวส์นี้ขาด ต้อง เปลี่ยนใหม่ 4.2ถ้าวัดแล้วได้ค่าน้อยมาก เช่น 0.0 Ω หรือ ต่ ากว่า แสดงว่า ฟิวส์นี้ปกติ

1.4.3 การวัดไดโอด มัลติมิเตอร์ดิจิตอลที่ มีโหมดวัดไดโอด ให้สังเกตที่รูป ไดโอด สามารถ วัดได้ทั้งกรณีไดโอดดีหรือเสีย และวัดได้ทั้งไดโอดเปล่งแสง โดยตั้งสวิตช์เลือกการ วัดที่ การวัดแบบไบแอสตรง และการวัดแบบไบแอสกลับ

1. วัดแบบไบแอสกลับ(ขั้วA สายสีด า)แล้ว ได้ค่า OL และวัดแบบไบแอสตรง(ขั้วA สายสีแดง ได้ค่าแรงดันตกคร่อมไดโอดเท่ากับ 0.60V หรือ ค่าที่ใกล้เคียง หมายความ ว่า ไดโอดปกติ

2. หากวัดแล้ว เป็นค่าอื่นๆ หมายความว่า ไดโอดเสีย

1.4.4 การวัดแบตเตอรี่ โดยตั้งสวิตช์เลือกพิสัยการวัดที่ ใช้สายสีแดง เสียบขั้วบวก สายสีด าเสียบขั้วลบ ของมิเตอร์ และวัดที่ขั้วแบตเตอรี่ โดยใช้โปรบสีแดง วัดที่ขั้วบวก สายโปรบสีด าวัดที่ขั้วลบ ดังรูปที่ 3.7 อ่านค่าได้ 12.45 V แสดงว่าแบตเตอรี่นี้ มีระดับแรงดันไฟฟ้าปกติ(แรงดัน ถ้าเกิน กว่า 12.0V คือ ค่าปกติ หากต่ ากว่านี้ ควรน าแบตเตอรี่ไปประจุไฟฟ้าใหม่

1.4.5 การวัดโวลต์ เอ.ซี. โดยตั้งสวิตช์เลือกพิสัยการ วัดสูงสุด เช่นที่ 600 ใช้สายสี แดง เสียบขั้วบวก สายสีด าเสียบขั้ว ลบของมิเตอร์ และวัดที่เต้ารับ ไฟฟ้า โดยใช้โปรบสีแดง และสาย โปรบสีด าวัดที่เต้ารับ ดังรูปที่ 3.8 ที่จอแสดงผลอ่านค่าได้ 220Vac แสดงว่าไฟฟ้ากระแสสลับ ที่เต้ารับ นี้มีระดับแรงดันไฟฟ้าปกติ

1.4.6 การวัดไดโอดเปล่งแสง(แอล.อี.ดี) ตั้งมัลติมิเตอร์ดิจิตอล เหมือนการวัดไดโอด ให้สังเกต ไดโอดเปล่งแสง โดยตั้งสวิตช์เลือกการวัดที่วัดไดโอด การวัดแบบไบแอสตรง  และการวัด แบบไบแอสกลับ  ไดโอดเปล่งแสงจะติดสว่างเมื่อวัดแบบไบแอสตรง แรงดันตกคร่อม ไดโอดเปล่งแสง เท่ากับ 0.6V และการวัดกระแสไบแอสกลับไดโอดเปล่งแสงจะไม่สว่าง

1.4.7 การวัดความต่อเนื่อง จะทำให้สามารถบอกได้ว่าสายไฟขาดหรือมีจุดที่ต่อตรงไหนหลวมหรือไม่ โดยไม่ ต้องตรวจสอบสายไฟทั้งสายหรือถอดฉนวนออก และการวัดนี้จะช่วยบอกได้ว่าจุดสองจุดใด เชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าหรือไม่ ใช้ในการวัดฟิวส์ หรือวัดสายไฟฟ้าว่าขาดหรือไม่  เมื่อวัดในโหมด ความต่อเนื่องจะมีเสียง ปี๊บๆๆๆๆๆ ดังขึ้น อย่างต่อเนื่อง แสดงว่าสายไฟฟ้า ที่ทดสอบนี้ไม่ขาด

1.4.8การวัดในวงจรไฟฟ้า การวัดแรงดันไฟฟ้า ให้ ตั้งย่านวัดแรงดัน เช่น ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งที่ VDC หรือ V-ละใช้สายวัด สีแดง วัดที่ขั้ว บวก และสายวัดสีด าวัดที่ขั้วลบของ จุดที่ต้องการวัด เช่น ในรูปที่ 3.12 เป็นวงจรหลอดไฟฟ้า หากต้องการวัดวัดค่าแรงดันของ แหล่งจ่ายไฟฟ้า ให้ทำการวัด ตามรูป จะได้แรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 12.2 V เป็นต้น

การวัดกระแสไฟฟ้า ให้ ตั้งย่านวัดกระแสไฟฟ้า เช่น ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งที่ ADC หรือ A- เช่นตั้งที่ย่านวัด 10A และใช้สายวัด สีแดง วัดที่ขั้ว บวก และสายวัดสีด าวัดที่ ขั้วลบของ จุดที่ต้องการวัด คือกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้าในรูปที่ 3.13 กรรวัด กระแสไฟฟ้าจะต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้า สายบวกสีแดง ของมิเตอร์ และ ให้ กระแสไฟฟ้าไหลออกจากมิเตอร์ทางสายลบ สีด า ดังรูป ค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้เท่ากับ 1.1A เป็นต้น

การวัดแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง พร้อมกัน ท าได้โดย การใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอล 2 ตัว ตัวที่ 1 ตั้งให้วัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (V-) ตัวที่ 2 ตั้ง ให้วัดค่ากระแสไฟฟ้ากระแสตรง (A-) ดังรูปที่ 3.14 ค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้เท่ากับ 1.1A และ ค่าแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 12.2 V เป็นต้น

TEP.measuring instrument

©2022 โดย TEP.measuring instrument ภูมิใจสร้างสรรค์โดย Wix.com

bottom of page